ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning คือ ระบบการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวมเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่าง ๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน ปัจจุบัน ERP มีการพัฒนาไปสู่รูปแบบโปรแกรมสำเร็จรูป ERP ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์มาตรฐาน สามารถได้รับการติดตั้งและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย ERP Software มีหน้าที่รวบรวมส่วนประกอบทางธุรกิจต่าง ๆ เช่น
1. งานวางแผนงบประมาณ(Budget Planning)
2. งานผลิต (Production)
3. งานพัสดุ (Material Management)
4. งานทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource)
5. งานบัญชีการเงิน (Accounting/Finance)
แล้วเชื่อมโยงส่วนงานต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้มีการใช้ข้อมูลร่วมกันจากฐานข้อมูลเดียวกัน มีการใช้กระบวนการที่เป็นมาตรฐานร่วมกัน (Standardized Common Processes) ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการทำงานกระบวนการทางธุรกิจขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และการรวมข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน ทำให้สามารถใช้ข้อมูลเดียวกันสามารถร่วมกันทั้งองค์กรได้
ERP Software Application คือ ซอฟต์แวร์ที่มีการรวบรวม ผนวกฟังก์ชันงานทั้งหมดในองค์กร โดยการเชื่อมโยงระบบงานทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยมี
ลักษณะการทำงานแบบเรียลไทม์ และ ERP Software ได้รับการออกแบบมาบนพื้นฐานของวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนั้น ๆ (Best Practice) คือมีการกำหนดในส่วนของกระบวนการทางธุรกิจ ที่มีการทดสอบ และสำรวจมาแล้วว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนั้น ๆ ไว้ในตัวของ ERP Software โดยที่ ERP Software จะสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับลักษณะการดำเนินงานขององค์กรได้
การที่คณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยศิลปากร ตัดสินใจนำระบบ ERP Software Application ชื่อ ‘SAP S/4 Hana’ ที่พัฒนาโดยบริษัท SAP จากประเทศเยอรมัน เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อรองรับการทำงานในระบบงาน การงบประมาณ (Budgeting) การพัสดุ (Material Management) การบัญชี และการเงิน (Financial Accounting) และการบัญชีบริหาร (Controlling) โดยเลือกบริษัทที่ปรึกษาในการติดตั้งระบบ SU-ERP คือบริษัทคอนเวอร์เจนซ์ซิสเทมส์จำกัด (Convergence System) ซึ่งทีมที่ปรึกษามีประสบการณ์ในการติดตั้งระบบ SAP-ERP ให้กับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยหลายแห่ง เป็นผู้ดำเนินการ โดยให้ชื่อโครงการการติดตั้งระบบครั้งนี้ว่าระบบ SU-ERP ย่อมาจาก ‘Silpakorn University Enterprise Resource Planning System’
เนื่องจากระบบ SU-ERP เป็นระบบที่จะเข้ามารองรับการทำงานพื้นฐานโดยส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัย ในระบบการงบประมาณ (Budgeting) การพัสดุ (Material Management) การบัญชี และการเงิน (Financial Accounting) และการบัญชีบริหาร (Controlling) ดังนั้นบุคลากรของมหาวิทยาลัยทุกระดับชั้นจะเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และมีส่วนร่วมกับระบบ SU-ERP ทั้งในทางตรง และทางอ้อม ทางใดทางหนึ่ง หรือทั้งสองทาง
ขั้นตอนในการติดตั้งระบบ SU-ERP แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนการทำงาน โดยเริ่มจากการออกแบบ การพัฒนา การอบรม การทดสอบ และการใช้งานจริง (โดยรายละเอียดขั้นตอนการทำงานในแต่ละขั้นตอน ทางทีมงานจะนำเสนอ อย่างละเอียดใน News Letter ฉบับถัดไป) แต่ในช่วงเวลาปัจจุบัน (ตุลาคม - ธันวาคม 2560) การทำงานอยู่ในช่วงการออกแบบระบบซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทำงานของทางบริษัทที่ปรึกษาจะทำงานร่วมกับคณะทำงานของส่วนกลางของมหาวิทยาลัยเป็นหลัก ดังนั้นสำหรับบุคลากรจากส่วนงาน การเตรียมตัวเพื่อรองรับการทำงานในช่วงเวลานี้ ขอให้ติดตามข่าวสารความคืบหน้าของโครงการ และอาจจะมีการนัดหมายคณะทำงานของบางส่วนงานเข้ามาร่วมประชุมออกแบบระบบ ก็ขอความอนุเคราะห์เพื่อให้สละเวลาการทำงาน เพื่อเข้ามาร่วมแรงร่วมใจในการออกแบบระบบโดยพร้อมเพรียงกัน
C: Creative สร้างสรรค์
H: Harmony กลมเกลียว
A: Accountability รับผิดชอบ
N: Networking ทำงานเชื่อมโยงกัน
G: Goal-Oriented มุ่งเป้าหมายเดียวกัน
E: Efficiency มีประสิทธิภาพ