ประกันคุณภาพ

งานประกันคุณภาพ





ประวัติความเป็นมา

มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ดำเนินการด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 โดยได้ประกาศนโยบายด้านการประกันคุณภาพการศึกษาและประกาศแนวทางปฏิบัติในเรื่องนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2541 จากนั้นได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านการเผยแพร่และทำความเข้าใจ เรื่องการประกันคุณภาพกับประชาคม การฝึกอบรมและพัฒนา หลักเกณฑ์และวิธีการในการดำเนินงานประกันคุณภาพ

ในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษานั้นจำเป็นต้องมีคณะกรรมการหรือหน่วยงาน ในระดับ ต่าง ๆ ที่มีผู้รับผิดชอบการดำเนินงานอย่างชัดเจน ตั้งแต่ระดับมหาวิทยาลัยคือคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย ซึ่งรับผิดชอบด้านนโยบาย การควบคุม และติดตามการดำเนินงาน จากนั้นคณะกรรมการประสานงานประกันคุณภาพการศึกษา เป็นคณะกรรมการดำเนินงานด้านนี้ โดยมีสำนักงานประกันคุณภาพการศึกษาเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบเป็นศูนย์กลางประสานงานและดำเนินงานหรือเป็นกลไกในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย สำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา ได้รับความเห็นชอบในการจัดตั้งตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2544 ลงวันที่ 7 มีนาคม 2544 ให้เป็นหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัย ปัจจุบันอยู่ในการบังคับบัญชาภายใต้รองอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา

ผู้บริหารของสำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา

  1. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ตั้งแต่ วันที่ 7 มีนาคม 2544
  2. รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ ตั้งแต่ วันที่ 17 กันยายน 2544 – 21 มกราคม 2545
  3. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ตั้งแต่ วันที่ 21 มกราคม 2545 – 30 กันยายน 2545
  4. รองอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา ตั้งแต่ วันที่ 30 กันยายน 2545 - 30 เมษายน 2551
  5. รองอธิการบดี(ประกันคุณภาพการศึกษา) ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2551 - 2 ธันวาคม 2555
  6. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ตั้งแต่ 3 ธันวาคม 2555 - 9 เมษายน 2556
  7. รองอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา ตั้งแต่ วันที่ 10 เมษายน 2556 – 12 มีนาคม 2560
  8. รองอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา ตั้งแต่ วันที่ 13 มีนาคม 2560 – ถึงปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ของการประกันคุณภาพการศึกษา

  1. เป็นองค์ประกอบในการรักษามาตรฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยเน้นหลักการของการให้มหาวิทยาลัยมีระบบการควบคุมคุณภาพทางวิชาการ  และปรับปรุงการปฏิบัติภารกิจทุก ๆ ด้านอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานของความมีเสรีภาพทางวิชาการ และอิสรภาพในการดำเนินงานที่สังคมหรือหน่วยงานภายนอกสามารถเข้าตรวจสอบได้ อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐานทางการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้
  2. เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย ที่มุ่งเน้นให้มีการสร้างกลไกการควบคุมคุณภาพขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  3. พื่อให้การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอกอย่างกว้างขวาง และเป็นการแสดงถึงความมีคุณภาพของการจัดการศึกษา ซึ่งมหาวิทยาลัยจะให้มีกลไกในการตรวจสอบและประเมินผล ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่มหาวิทยาลัยจัดให้มีขึ้นทั้งในระดับหลักสูตร / คณะวิชา และหน่วยงาน

ภารกิจหลัก ของสำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้

    • สนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินการด้านประกันคุณภาพการศึกษา ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ระดับหลักสูตร ระดับคณะวิชา/หน่วยงานสนับสนุนเทียบเท่า และระดับสถาบัน
    • สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาองค์กรสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีมาตรฐานสากล ตามเกณฑ์ Education Criteria for Performance Excellence : EdPEx และ AUN-QA
    • อบรมและพัฒนาบุคลากรด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
    • ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา

มหาวิทยาลัยศิลปากร กำหนดนโยบายประกันคุณภาพการศึกษา ไว้ดังนี้

  • พัฒนาระบบและกลไกในการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นไปตามเป้าประสงค์และนโยบายคุณภาพของมหาวิทยาลัย ทั้งระดับหลักสูตร คณะวิชา/หน่วยงานสนับสนุนเทียบเท่า และระดับสถาบัน เพื่อมุ่งสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งการสร้างสรรค์
  • ส่งเสริมให้มีการกำหนดมาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานอุดมศึกษา เพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย และให้มีการบูรณาการภารกิจ 4 ด้าน คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย/สร้างสรรค์ การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพของบัณฑิตตามปณิธานของมหาวิทยาลัยและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก สอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิตอันพึงประสงค์
  • ส่งเสริมให้นำระบบประกันคุณภาพการศึกษาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษา และ นำผลการประเมินคุณภาพจากภายในและภายนอกมาปรับปรุงพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
  • สนับสนุนให้มีการยกระดับคุณภาพการศึกษาให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยการนำเกณฑ์ Education Criteria for Performance Excellence : EdPEx และ AUN-QA มาเป็นกรอบในการดำเนินการและการบริหารจัดการ ตลอดจนการเข้ารับการประเมิน QS Stars Ratings
  • เร่งรัดให้มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสะดวกต่อการจัดทำรายงานประกันคุณภาพการศึกษา สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนพัฒนาคุณภาพได้อย่างเป็นระบบ และใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ทุกระดับ
  • พัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย การสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในสถาบันเพื่อพัฒนาสถาบันสู่สถาบันเรียนรู้ รวมทั้งสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากร
  • ส่งเสริมให้นักศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของระบบประกันคุณภาพการศึกษา และนักศึกษาสามารถนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเองและสร้างเครือข่ายพัฒนาคุณภาพ รวมทั้งเปิดโอกาสให้บุคลากรภายนอกและศิษย์เก่าเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบและกลไกการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  • ส่งเสริมให้เกิดการสร้างเครือข่ายด้านการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และส่งเสริมให้เกิดความรับรู้เกี่ยวกับศักยภาพของมหาวิทยาลัยในสาขาวิชาต่างๆ

คำสั่งแต่งตั้งรองอธิการบดี ในส่วนที่กำกับงานกองประกันคุณภาพฯ

  • รองอธิการบดี (ประกันคุณภาพการศึกษา) 1 พฤษภาคม 2551 ถึง 31 พฤศจิกายน 2555
  • รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2555 ถึง 22 มกราคม 2556
  • รองอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 16 พฤษภาคม 2560
  • รองอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2560 ถึงวันที่ 25 กันยายน 2562
  • รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2562 ถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2565
  • รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนาองค์กร ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2565 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2566
  • รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพองค์กร ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึงปัจจุบัน

รายละเอียดเพิ่มเติม: http://www.qa.su.ac.th/

 
share
Facebook
Twitter