เกี่ยวกับ

ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์

share
Facebook
Twitter

ปรัชญาของมหาวิทยาลัยศิลปากร (Philosophy)

“ศิลป์และศาสตร์ สร้างสรรค์ชาติยั่งยืน”

ปณิธาน(Determination)

“สร้างสรรค์ศิลปะ วิทยาการ และภูมิปัญญาเพื่อสังคม”

อัตลักษณ์ (Identity)

“ชาวศิลปากรเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์”

อัตลักษณ์เชิงพื้นที่ (Campus Identity)

ทุกพื้นที่เป็นที่พึ่งของชุมชน โดยมีอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ ดังนี้

วังท่าพระ

เป็น Art and Science for Cultural & Design Landmark Campus มุ่งเน้นเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ทางด้านศิลปวัฒนธรรมของพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ โดยร่วมมือกับพื้นที่โดยรอบทำให้เป็น Landmark ด้านศิลปวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานคร

พระราชวังสนามจันทร์
จังหวัดนครปฐม

เป็น Art and Science for Green Campus มุ่งเน้นเป็นพื้นที่แห่งการบูรณาการศาสตร์และศิลป์ เพื่อให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของภูมิภาคตะวันตก บนฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี

วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
จังหวัดเพชรบุรี

เป็น Art and Science for Community Campus มุ่งเน้นให้เป็นพื้นที่การบูรณาการศาสตร์และศิลป์ เพื่อชุมชนจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และราชบุรี บนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนา และการจัดการเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมที่ยั่งยืน

เมืองทองธานี

เป็น  Art and Science for International Cultural & Technology Campus มุ่งเน้นให้เป็นพื้นที่การบูรณาการศาสตร์และศิลป์ โดยยกระดับให้เป็นศูนย์กลางความเป็นนานาชาติด้านศิลปวัฒนธรรมของประเทศ ซึ่งจะเป็นเสมือนพื้นที่ประตูของการสร้างการรับรู้ การสร้างเครือข่าย ความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัยศิลปากร

วัฒนธรรมองค์กร (Organization Culture)

ความเป็นกัลยาณมิตร Amicability คณะ/ส่วนงาน ทำงานร่วมกันกับมหาวิทยาลัยอย่างกัลยาณมิตร

วิสัยทัศน์(Vision)

“มหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งการสร้างสรรค์ บูรณาการศาสตร์และศิลป์ เพื่อความผาสุกของสังคมอย่างยั่งยืน”

เป้าหมายผลลัพธ์ในภาพรวมของมหาวิทยาลัย ภายในปี พ.ศ. 2570

  1. QS World University Rankings by Subject For Art and Design อันดับ 1 ใน 200
  2. The Times Higher Education (THE) Impact Rankings ไม่น้อยกว่า 2 ด้านติด Top 10 ของประเทศ
  3. ผลตอบแทนการลงทุนทางสังคม (SROI) เป็น 2 เท่าของงบประมาณการวิจัยและบริการวิชาการ
  4. ความสำเร็จตามแผน ร้อยละ 85 ในการเป็น Digital University

ยุทธศาสตร์

  1. เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีความสร้างสรรค์ เป็นเลิศทางวิชาการและงานวิจัย
  2. เป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างความผาสุกและยั่งยืนให้แก่ชุมชน สังคม และประเทศ โดยการบูรณาการศาสตร์และศิลป์ผ่านงานวิจัยและบริการวิชาการ
  3. เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการ เพื่อความยั่งยืนขององค์กร

กลยุทธ์

  1. สร้างการรับรู้ในระดับนานาชาติ ในทุกพันธกิจของมหาวิทยาลัย
  2. สร้างผู้เรียนเพื่อรองรับการเป็นพลเมืองโลก
  3. สร้างองค์ความรู้จากงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
  4. บูรณาการองค์ความรู้ศาสตร์และศิลป์ในงานวิจัย/ บริการวิชาการ เพื่อเพิ่มคุณค่า/ มูลค่านำไปสู่การพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศ
  5. เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ด้านการทำนุบำรุง อนุรักษ์ต่อยอดศิลปวัฒนธรรมของประเทศ
  6. สร้าง/ พัฒนาบุคลากรสู่ความเป็นเลิศ
  7. พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กร เพื่อทันต่อการเปลี่ยนแปลงและมีธรรมาภิบาล

เป้าหมาย : แผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัยศิลปากร ระยะ 15 ปี พ.ศ.2565 – 2579

เป้าหมายที่ 1 QS World University Rankings by Subject For Art and Design อันดับ 1 ใน 200
     มหาวิทยาลัยติดอันดับ QS World University Rankings by Subject For Art and Design  1 ใน 200 ส่งเสริมการรับรู้ต่อสังคมโลกถึงความเป็นเลิศด้านศิลปะ การออกแบบ และศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยศิลปากร และศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทยสูงขึ้น สามารถนำความโดดเด่นด้านศิลปะ การออกแบบ ศิลปวัฒนธรรมไทย อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ (Uniqueness) เช่น Aesthetic Arts, Archaeology, Oriental Languages และ Oriental Cuisine ต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เพิ่มความเข้มแข็งให้ภาคเศรษฐกิจ สังคม และชุมชน ได้แก่ Domestic & International Academic & Research Mobility และ Talent Mobility โดยการขับเคลื่อนของมหาวิทยาลัยศิลปากร

เป้าหมายที่ 2 THE Impact Rankings ไม่น้อยกว่า 2 ด้าน อยู่ในอันดับ Top 10 ของประเทศ

เป้าหมายที่ 3 ผลตอบแทนการลงทุนทางสังคม (SROI) เป็น 2 เท่า ของงบประมาณการวิจัยและบริการวิชาการ
     พื้นที่ และชุมชน ได้รับการพัฒนา/ แก้ไขปัญหา มีการพัฒนาที่ยั่งยืน และผลผลิต ผลลัพธ์ ที่เกิดจากงานวิจัย และงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย สามารถพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เกิดความผาสุกในสังคม และสังคมมีการรับรู้การดำเนินงานด้าน THE Impact Rankings ของมหาวิทยาลัยในวงกว้าง และสำนักศิลปวัฒนธรรมและการออกแบบแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร สามารถขับเคลื่อนความเป็นเลิศทางด้านศิลปวัฒนธรรมและการออกแบบ และศูนย์ส่งเสริมการสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของโครงการวิจัยและงานบริการวิชาการพร้อมเปิดให้บริการ 

เป้าหมายที่ 4 ความสำเร็จในการเป็น Digital University ร้อยละ 100

  1. มหาวิทยาลัยเป็น Digital University มีความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทุกวิทยาเขต ทุกระบบสามารถบูรณาการทำงานร่วมกัน โดยเชื่อมโยงข้อมูลกลาง Big Data Platform จากระบบงานที่สำคัญ เช่น REG, ERP, MIS, RIS
  2. มีหลักสูตรและรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนในอนาคต และวิทยาเขตต่าง ๆ มีการพัฒนาตามอัตลักษณ์ของพื้นที่ สามารถใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ของวิทยาเขตฯ ได้อย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และเพิ่มการรับรู้ในเชิงพื้นที่ของคนในชุมชนและนักท่องเที่ยว
  3. บุคลากรทุกระดับ ได้รับการพัฒนาให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เป็นเลิศ
  4. มหาวิทยาลัยมีความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน

ค่านิยม (Core Value)

C = Customer- focused        มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับลูกค้า
R = Resilience                     ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง
E = Excellence                    ความเป็นเลิศ
A = Amicability                   กัลยาณมิตร
T = Trust                            ความไว้วางใจ
I  = Innovation                    นวัตกรรม
V = Valued People               คนที่มีคุณค่า
E = Equality                        ความเท่าเทียม ความเสมอภาค

จุดเน้น/ความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย

  1. เป็นเลิศในการสร้างสรรค์ผลงานและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบ
  2. เป็นผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม
  3. บูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับศาสตร์ด้านศิลปะและการออกแบบ

สมรรถนะหลัก       

  1. เป็นเลิศในการสร้างสรรค์ผลงานและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบ
  2. เป็นผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม
  3. สร้างเครือข่ายและบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กับศิลปะและการออกแบบ

ปรัชญาการศึกษา       

     จัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้การศึกษาที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยบัณฑิตเป็นผู้นำ ผสานศาสตร์และศิลป์ สร้างสรรค์คุณค่าสู่สังคม

share
Facebook
Twitter