วิทยาเขต สารสนเทศเพชรบุรี

ประวัติความเป็นมา

สืบเนื่องจากที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้ความเห็นชอบโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาคในรูปแบบของวิทยาเขตสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นมหาวิทยาลัยแรกๆ ที่มีปณิธานและปรัชญาการขยายโอกาสทางการศึกษาแก่พื้นที่ภูมิภาคตะวันตกของประเทศ ประกอบด้วย จังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี  ประจวบคีรีขันธ์  และได้ขยายเพิ่มเติมอีก 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี ชุมพร และระนอง โดยมีรูปแบบของการศึกษาสมัยใหม่ควบคู่ไปกับการพัฒนาสาขาวิชาด้านที่เกี่ยวข้องกับกับภูมิปัญญา คติชนวิทยา ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม ในลักษณะผสมผสานครบถ้วนตามความต้องการของประเทศ และเหมาะสมกับสังคม        

วันที่ 27 กรกฎาคม 2540 มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์ให้ใช้ที่ราชพัสดุ ณ ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 621 ไร่ และได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2540 ให้ย้ายสถานที่ตั้งวิทยาเขตสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร จากจังหวัดราชบุรี มายังตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

วันที่ 27 ตุลาคม 2543 มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับอนุญาตจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี โดยกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้ใช้พื้นที่เพิ่มเติม จำนวน 200 ไร่ เพื่อรองรับการเรียนการสอนของคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ได้เริ่มดำเนินการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2545 โดยคณะแรกที่จัดการเรียนการสอน ณ วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี คือ คณะวิทยาการจัดการ ต่อมาในปีการศึกษา 2546 คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ได้ย้ายนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มาจัดการเรียนการสอนที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี  และมีคณะวิชาอีก 2 คณะได้เปิดการเรียนการสอน คือ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร   และวิทยาลัยนานาชาติ (ปีการศึกษา 2548 วิทยาลัยนานาชาติ ได้ย้ายไปเรียนที่กรุงเทพมหานคร)

 

สภาพปัจจุบัน

มหาวิทยาลัยศิลปากร  วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี มีคณะวิชาที่จัดการเรียนการสอน จำนวน 3 คณะวิชา  และหน่วยงานสนับสนุน 3 หน่วยงาน ดังนี้

  • คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร           
    www.asat.su.ac.th
  • คณะวิทยาการจัดการ                                  
    www.ms.su.ac.th
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร            
    www.ict.su.ac.th
  • สำนักงานวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี              
    www.pitc.su.ac.th
  • หอสมุด วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี                
    www.pitc.lib.su.ac.th
  • สำนักดิจิทัลเทคโนโลยี วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี    
    www.bdt.su.ac.th
  • สำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน   
    www.president.su.ac.th

 

อาคารสถานที่

อาคารเรียน

อาคารเรียนที่ใช้สำหรับจัดการเรียนการสอนของทุกคณะวิชา มีจำนวน 2 หลัง คือ อาคารวิทยบริการ จำนวน 9 ห้อง และอาคารเรียนรวม 2 จำนวน 52 ห้องโดยมีโสตทัศนูปกรณ์ที่ทันสมัยประจำทุกห้องเรียน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง เครื่องฉายภาพ 3 มิติ เครื่องมัลติมีเดียโปรเจคเตอร์ ซึ่งในห้องเรียนจะติดตั้งเครื่องปรับอากาศทุกห้อง

อาคารเรียน


โรงอาหาร

โรงอาหารที่ให้บริการแก่นักศึกษา มีจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงอาหารกลาง และโรงอาหารหอพัก 2

ภัตตาคาร ( Viridian Restaurant )


หอพักนักศึกษา

หอพักนักศึกษา มีจำนวน 6 หลัง รวม 1,024 ห้อง สามารถรับนักศึกษาได้สูงสุด 3,500 คน แบ่งเป็นหอพักชาย จำนวน 2 หลัง และหอพักหญิง จำนวน 4 หลัง

ห้องสมุด


โรงพลศึกษา สนามกีฬาและสถานที่ออกกำลังกาย

โรงพลศึกษา มีจำนวน 1 หลัง เปิดให้บริการในวันทำการตั้งแต่เวลา 08.30-21.00 น. ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 17.00-21.00 น. นอกจากนี้ ยังมีสนามกีฬาประเภทต่างๆ ไว้ให้บริการ ได้แก่ สนามฟุตบอล สนามฟุตซอล สนามเทนนิส  สนามวอลเล่ย์บอล สนามบาสเกตบอล สนามเปตอง ลานกีฬาและลานกิจกรรมหน้าโรงพลศึกษา

โรงพลศึกษา สนามกีฬาและสถานที่ออกกำลังกาย


สระศิลป์เพชรภิรมย์

สระศิลป์เพชรภิรมย์เป็นสระน้ำขนาดใหญ่  ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามอาคารปฏิบัติการคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  เป็นสถานที่สำหรับออกกำลังกาย และพักผ่อนหย่อนใจของนักศึกษา

ห้องสมุด

สวนประติมากรรม

ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัย  เป็นสถานที่แสดงผลงานประติมากรรมที่ได้รับรางวัลจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ซึ่งสร้างสรรค์โดยประติมากรชั้นแนวหน้าของประเทศไทย  จำนวน 28 ชิ้น บนพื้นที่ 18 ไร่  และเนื่องในโอกาสครบรอบ 65 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร ในวันที่ 12 ตุลาคม 2551  ได้มีการจัดสร้างประติมากรรมร่วมสมัย  จำนวน 3 ชิ้น เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระหว่างศิลปินไทยและศิลปินต่างชาติ

สวนประติมากรรม

สถานที่จัดกิจกรรมและทบทวนบทเรียน

ตั้งอยู่ระหว่างหอพักนักศึกษาหลังที่ 4-5 โดยมีชื่อเรียกเป็นการภายในว่า “ลานจัน” ใช้สำหรับทำกิจกรรมทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และเป็นสถานที่สำหรับท่องตำราและทบทวนบทเรียนของนักศึกษา

ลานจัน

เทวาลัยพระคเณศ

เทวาลัยพระคเณศ ตั้งอยู่ที่วงเวียนด้านหน้ามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ออกแบบโดยอาจารย์ประเวศ  ลิมปะรังสี ศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรมไทย ภายในประดิษฐานพระคเณศ ประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร ขนาด หน้าตักกว้าง 96 นิ้ว สูง 2 เมตร 20 เซนติเมตร ซึ่งออกแบบและปั้นหล่อโดยอาจารย์เสวต เทศน์ธรรม ประติมากรอาวุโส ศิษย์ท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

เทวาลัยพระคเณศ

อนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นบุคคลที่มีความสำคัญยิ่งต่อมหาวิทยาลัยศิลปากร ในฐานะผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร  ดังนั้น  จึงได้ดำเนินการก่อสร้างอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ขึ้นที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี  ณ บริเวณด้านหลังอาคารบริหาร  เพื่อเป็นการเผยแพร่เกียรติประวัติและปลูกฝังความรักความศรัทธาในผู้มีพระคุณของสถาบันการศึกษา

อนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี



สิ่งอำนวยความสะดวกที่ให้บริการโดยเอกชน/ผู้ประกอบการภายนอก

สิ่งอำนวยความสะดวกที่ให้บริการโดยเอกชน/ผู้ประกอบการภายนอก ได้แก่ ร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น  ร้านกาแฟมวลชน ตั้งอยู่ที่บริเวณด้านหลังหอพัก 5-6 ร้านสะดวกซื้อ  ร้านจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องเขียน  ตั้งอยู่ที่โรงอาหารหอพัก  ร้านซักรีด  ตั้งอยู่หอพัก 3-4  ร้านถ่ายเอกสาร  ตั้งอยู่ที่หอพัก 1  และอาคารเรียนรวม 2

ห้องสมุด


การสัญจรภายในวิทยาเขต

มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี สนับสนุนให้นักศึกษาใช้รถจักรยานในการสัญจรภายในวิทยาเขตฯ ตามนโยบาย Green & Clean Campus โดยได้จัดทำเส้นทางจักรยาน บริเวณถนนคู่ขนานสายในของถนนวงแหวนรูปพัดรอบพื้นที่ส่วนการศึกษา และมีรถรางให้บริการแก่นักศึกษาตั้งแต่ภาคต้น ปีการศึกษา 2557 จำนวน 4 คัน โดยได้จัดทำสถานีจอดรถรางไว้ประตูทางเข้า-ออก ด้านหลังมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักศึกษาที่พักหอนอกจอดรถจักรยานหรือรถจักรยานยนต์ไว้ที่ประตูทางออกและใช้บริการรถรางเข้ามาภายในมหาวิทยาลัย โดยได้จัดสร้างที่รอรถรางไว้ จำนวน 9 จุด

รถราง


ติดต่อ/การเดินทาง

รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง คือ

  • เส้นทางแรก (เส้นพระราม 2) ใช้เส้นทางสายธนบุรี-ปากท่อ ทางหลวงหมายเลข 35 ผ่านจังหวัด สมุทรสาคร สมุทรสงครามแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเพชรเกษม เส้นทางหลวงหมายเลข 4 พอถึงแยก ชะอําให้ใช้ถนน Bypass ชะอํา - ปราณบุรี เรื่อยมาจนเกือบถึงหัวหิน มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ทาง ขวามือ มีป้าย "ม.ศ.ก." สีขาว ซึ่งเป็น คําย่อชื่อมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นจุดสังเกต รวมระยะทาง ประมาณ 200 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง
  • เส้นทางที่สอง ใช้เส้นทางสายเพชรเกษม ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านพุทธมณฑล นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี และใช้ถนนเส้น bypass ชะอํา - ปราณบุรี รวมระยะทางประมาณ 250 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง

รถโดยสารประจําทาง จากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ถนนบรมราชชนนี สามารถใช้บริการรถ โดยสารประจําทางปรับอากาศ (ป.1) ได้หลายสาย ดังนี้ี้

  • สายกรุงเทพฯ -ประจวบคีรีขันธ์
  • สายกรุงเทพฯ -บางสะพาน

รถตู้

  • รถตู้บริเวณสถานีขนส่งหมอชิต เป็นรถตู้สายกรุงเทพฯ-ประจวบคีรีขันธ์
  • รถตู้บริเวณสถานีขนส่งสายใต้เก่า เป็นรถตู้สายกรุงเทพฯ-ประจวบคีรีขันธ์, รถตู้สายกรุงเทพฯ-ปราณบุรี

แผนที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อภายใน

มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี   หมายเลขโทรศัพท์กลาง 0-3289-9686 กดเบอร์ต่อภายใน โทรศัพท์ตรง 0-3259-4029-30 หมายเลขโทรสาร 0-3259-4026

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.pitc.su.ac.th/