ข่าว > กิจกรรม > รางวัลบทความวิจัยดีเด่นและนำเสนอดีเด่น

share
Facebook
Twitter

รางวัลบทความวิจัยดีเด่นและนำเสนอดีเด่น

20 กุมภาพันธ์ 2568

รางวัลบทความวิจัยดีเด่นและนำเสนอดีเด่นรวม 11 รางวัล จาก 67 ผลงาน

นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการชุมชนคว้ารางวัลบทความวิจัยดีเด่นและนำเสนอดีเด่นรวม 11 รางวัล จาก 67 ผลงานที่ร่วมนำเสนอ การประชุมวิชาการระดับชาติ เครือข่ายด้านการจัดการชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 10


บทความวิจัยดีเด่น 4 เรื่อง

1.นายชัยกล้า สุพรรณโมก และผศ.ดร.เกศราพร พรหมนิมิตกุล เรื่อง “บทบาทการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเมืองเพชรบุรีของกลุ่มลูกหว้า

2.นางสาวญาณิศา วิมลสาระวงค์ และอาจารย์รชกร วชิรสิโรดม เรื่อง “การจัดการทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษา วิสาหกิจกลุ่มแพปลาชุมชน ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี”

3.นายสรวิชญ์ ตาหน่วย นายพีรณัฐ เขาเทียน ผศ.ดร.ทิพย์สุดา พุฒจร และอาจารย์รชกร วชิรสิโรดม เรื่อง “การสำรวจทุนมนุษย์พื้นที่เทศบาลตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์”

4. นางสาวพลอยพิณ มะโนน้อม และอาจารย์ ดร.จรรยวรรธ สุธรรมา เรื่อง “อิทธิพลของแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนตลาดน้อย แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร”

นำเสนอดีเด่น 7 เรื่อง

1.นางสาวปิลันธา เรืองโรจน์ และผศ.ดร.ทิพย์สุดา พุฒจร เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาชุมชนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กรณีศึกษา ชุมชนหลังมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี”

2.นายไตรภพ หวังสุข และผศ.ดร.ทิพย์สุดา พุฒจร เรื่อง “ภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสโมสรนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร”

3.นายชัยกล้า สุพรรณโมก และผศ.ดร.เกศราพร พรหมนิมิตกุล เรื่อง “บทบาทการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเมืองเพชรบุรีของกลุ่มลูกหว้า”

4.นางสาวนงนภัส ชูตินันท์ และผศ.ดร.สวรรยา ธรรมอภิพล เรื่อง “การเข้าถึงสวัสดิการของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา”

5.นายพุทธิพงศ์ วันฤกษ์ และผศ.ดร.สวรรยา ธรรมอภิพล เรื่อง “ประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีและการตกเป็นเหยื่อของผู้สูงอายุจากมิจฉาชีพออนไลน์ ศิลปากร “

6.นางสาวญาณิศา วิมลสาระวงค์ และอาจารย์รชกร วชิรสิโรดม เรื่อง “การจัดการทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษา วิสาหกิจกลุ่มแพปลาชุมชน ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี”

7.นางสาวอารียา ประภาวิชา และ ผศ.ดร.สุนี คำนวลศิลป์ เรื่อง “ผลกระทบจากการนำเข้าทุเรียนเวียดนามต่อเกษตรกรชาวสวนทุเรียนในพื้นที่ตำบลในวงใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง”

จัดโดยภาควิชามนุษยสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยความร่วมมือของเครือข่าย 4 สถาบัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสมาคมคหเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2568 ณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, จังหวัดเชียงใหม่